วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

assignment ครั้งที่ 4 สัมภาษณ์สถาปนิกรุ่นพี่

บทสัมภาษณ์รุ่นพี่ลาดกระบัง   โดย นายณัฐพล  ดวงจินดา รหัส 49020133

Assignment ชิ้นที่สี่ Mission ตามหาสถาปนิก Idol รุ่นพี่ลาดกระบัง

      โดยการสัมภาษณ์ครั้งนี้ได้ไปสัมภาษณ์รุ่นพี่รหัสเข้าปี 40 ชื่อ พี่เอ๋  ชัยวัฒน์  รักอู่  อายุ 31 ปี ซึ่งตอนนี้พี่เอ๋ได้ทำงานที่สถาบันพัฒนาองค์ชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สถานที่สัมภาษณ์คือที่สถาบันพัฒนาองค์ชุมชน แผนกบ้านมั่นคง ซึ่งอยู่บนชั้น 5 ของสถานที่ดังกล่าว เวลา 12.00 น. ซึ่งเป็นเวลาพักเที่ยงของพี่เอ๋  โดยผมเองก็รู้สึกเกรงใจที่รบกวนเวลาพักเที่ยงเพราะพี่เอ๋ก็งานยุ่งอยู่เหมือนกัน ต้องขอโทษพี่เอ๋ไว้ ณ ที่นี้ด้วย

     เริ่มด้วยการทักทายด้วยคำสวัสดีจากพี่ที่เราไม่เคยเห็นหน้าคาดตากันมาก่อน ก็รู้สึกเกรงใจและประหม่าบ้าง โดยผมเองก็ไม่เคยได้ไปสัมภาษณ์ใครในที่ทำงานอย่างนี้เช่นกัน คำถามแรกเกี่ยวกับประวัติการศึกษาของพี่เอ๋ พี่เอ๋บอกว่าก็จบมานานมากแล้วนะ แต่จำได้ว่ารหัสเข้าตอนปี 40 พอเรียนจบก็ช่วยงานที่คณะอยู่สักระยะหนึ่งเป็นเกี่ยวกับการออกแบบผังแม่บทสถาบัน  โดยส่วนที่พี่เอ๋รับผิดชอบคือส่วนของคณะสถาปัตย์โดยส่วนใหญ่แล้วก็มีหน้าที่ออกแบบผังแม่บท ,ปรับปรุง ,ออกแบบ landscape, การจัดการต่าง ๆ ,งานระบบ แล้วก็ส่วนที่เป็น master plan ส่วนตัวอาคารที่สร้างใหม่(ตึกบูรณาการ) การจัดการอาคาร  ออกแบบส่วนปรับปรุงสำนักงานคณะบดี  โดยขณะที่ช่วยทำงานที่คณะอยู่นั้นก็ได้เรียนต่อปริญญาโทผังเมืองไปด้วย  ส่วนระหว่างเรียนนั้นก็ได้ทำงานกับพี่รหัสโดยเป็นออฟฟิสที่เปิดขึ้นเองชื่อว่า Design Architect อยู่สักประมาณ 2-3 ปี  ซึ่งตอนอยู่ที่ Design Architect นั้นเองก็ได้ทำงานออกแบบทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการดีไซน์อาคาร บ้านพักอาศัย คุยกับลูกค้า ส่วนงาน Public นั้นก็ทำอยู่บ้างเช่น ห้าง City ตรงข้ามประตูน้ำ งาน interior ที่โรงหนัง Century ,ศูนย์ทันตกรรม สงขลา  นอกจากนั้นแล้วยังเขียนแบบยื่นก่อสร้างอาคารต่าง ๆ เสนองานสวนสาธารณะศรีราชา ชลบุรี
งานก่อสร้างอาคารศูนย์สื่อสารทหาร, ไม่เว้นแม้แต่การทำโมเดลจำลอง 1:1 เพื่อเป็นต้นแบบให้ลูกค้าสำหรับบ้านจัดสรรอีกด้วย  พูดได้ว่าทำมาทุกอย่างมาเกือบสามปี    หลังจากนั้นรู้สึกอิ่มตัวกับงานสถาปัตย์จึงได้มาสมัครทำงานที่สถาบันพัฒนาองค์ชุมชนเมื่อปี 49 เพราะจบมาจากผังเมือง น่าจะใช้ความรู้ทางด้านนี้มาทำงานเพื่อสังคมบ้าง
       ลักษณะการทำงานของพี่เอ๋ในปัจจุบัน  ได้อยู่ส่วนงานบ้านมั่นคงโดยทำงานโดยสร้างการมีส่วนร่วมของสังคม โดยการออกแบบบ้านมั่นคงนั้นไม่ได้กำหนดการออกแบบด้วยสถาปนิกทั้งหมด เพราะต้องการให้ชุมชนสร้างด้วยตัวเองได้ เป็นเครื่องมือการสร้างชุมชน  บริหารจัดการคน รวมถึงการออกแบบก่อสร้างเกี่ยวกับบ้านมั่นคง

ข้อคิดในการทำงานของพี่เอ๋แบ่งเป็นสองส่วนคือ
  1. อุดมคติของตนเองในตอนที่ทำงานเป็นสถาปนิกทั่วไปคือ  ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
  2. หลังจากมาอยู่ที่สถาบันพัฒนาองค์ชุมชนนั้น ก็ได้มีแง่คิดที่แตกต่างกันออกไป โดยพี่เอ๋กล่าวว่า ตอนนี้ตำแหน่งก็เป็นหัวหน้า รับผิดชอบเยอะ ทั้งประเทศ  จึงต้องเป็นคนมองภาพที่กว้าง  เลือกทำในจุดที่ส่งผลถึงภาพใหญ่  โครงการมีเป็นร้อยเป็นพัน  จึงจำเป็นต้องสร้างต้นแบบที่ดีเพื่อให้คนได้เห็นและเข้าใจและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องมีความรับผิดชอบ
ความคิดเห็นเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพ 
       พี่เอ๋ได้ให้แง่คิดเป็นสองส่วนคือว่า จุดมุ่งหมายของจรรยาบรรณคือการกำหนดเป็นเครื่องมือในการสร้างคน นอกจากนั้นยังมีทั้งข้อดีและข้อเสีย คือ ข้อดีคือทำให้เรานั้นมีความรับผิดชอบ ส่วนข้อเสียคือทำให้ไม่กล้าคิดอะไรนอกกรอบ  หลังจากนั้นก็ได้ให้แง่คิดว่าจรรยาบรรณนั้นมีเพื่อตอบสนองตัวเองและสังคม เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน  แต่จรรยาบรรณนั้นก็ต้องมีการปรับให้เข้ากับสังคมด้วย เพราะลักษณะงานที่พี่เอ๋ทำนั้นบางทีก็ไม่ได้ใช้จรรยาบรรณเพราะด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่นด้านการเงินของผู้มีรายได้น้อย  บางทีบ้านที่ก่อสร้างไปนั้นก็ไม่ได้ตรงตามมาตรฐานการก่อสร้างเท่าไรนัก แต่ก็ต้องทำเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาทางด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยหรือชุมชนที่มีปัญหา


หลังจากนั้นก็พี่เอ๋ก็ได้ให้ข้อคิดดี ๆ สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังจะจบและกำลังศึกษาอยู่คือว่าอยากให้น้อง ๆ เปิดมุมมองให้กว้างขึ้น  ในสิ่งที่เราคิดว่ากว้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในคณะหรือกิจกรรมซึ่งมีอยู่มากมาย แต่จริง ๆ แล้วมันยังมีอยู่อีกเยอะ เราก็เสมือนยังอยู่ในกะลาอยู่ดี  ดังนั้นแล้วเมื่อออกไปเจอกับโลกกว้างก็ต้องรู้จักการปรับตัวให้เข้ากับสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมิติของสังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง  จริง ๆ แล้วสถาปนิกสามารถทำอะไรได้หลายอย่างซึ่งเป็นข้อดี แต่เราต้องเข้าใจสังคมก่อน  เช่นจะออกแบบอะไร เส้นทุกเส้นมีความหมาย มีผลต่อสังคมทั้งสิ้น ไม่ใช่เอามันอย่างเดียว 

ผมได้ข้อคิดจากพี่เอ๋คือ คนทั่วไปมองสถาปนิกเรานั้นเป็นกลุ่มบุคคลที่รับใช้นายทุน ทำงานเพื่อผลประโยชน์ แต่ผมมองว่าก็ยังมีสถาปนิกอยู่อีกมากที่ทำงานรับใช้สังคม ก็ยังแสดงว่าวิชาชีพของเรานั้นสำคัญต่อโลกในหลาย ๆ ด้าน ไม่ใช่เรื่องที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว แต่มันครอบคลุมไปถึงมิติทางสังคม ช่วยให้ผู้คนนั้นสามารถอยู่รวมกันได้อย่างมีความสุขด้วย  (อย่างน้อยก็ไม่อายลุงขาว)

หลังจากจบการสัมภาษณ์แล้วพี่เอ๋ก็ได้ประชาสัมพันธ์ โดยวันที่ 21-22 ตุลาคม นี้ ที่สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้มีการจัดงาน วันที่อยู่อาศัยโลก ก็จะมีการสัมนาทางวิชาการต่าง ๆ เกี่ยวกับงานเพื่อสังคม ผู้ที่สนใจก็สามารถร่วมงานได้

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ตลาดสามชุก

ตลาดสามชุก
แผนที่ทางไปสามชุก

ประวัติของตลาด100ปีสามชุก
           สามชุก เป็นเมืองเล็กๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยในอดีตสามชุกคือแหล่งที่ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งไทย จีน มอญ ฯลฯ มามีสัมพันธ์ต่อกันในลักษณะของการแลกเปลี่ยน
และซื้อขายสินค้า จนพัฒนาไปสู่ การลงหลักปักฐาน สร้างเมืองที่มั่นคงขึ้นมาตามประวัติของเมืองสามชุก กล่าวไว้ว่า ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2437 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เดิมชื่ออำเภอนางบวชตั้งอยู่บริเวณ ตำบลนางบวช โดยมีขุนพรมสภา (บุญรอด) เป็นนายอำเภอคนแรก ซึ่งยังมีภาพถ่ายปรากฎอยู่จนถึงปัจจุบันต่อมาในปี 2457 ต้นรัชกาลที่ 6 ได้ย้ายอำเภอมาตั้งที่บ้าน สำเพ็งซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญในสมัยนั้น จนกระทั่งปี 2481 สมัยรัชกาลที่ 8 ได้เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอนางบวชมาเป็น อำเภอสามชุกและย้ายมาตั้ง อยู่ริมลำน้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) ซึ่งแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยผ่านคลอง มะขามเฒ่า แต่เดิมบริเวณที่ตั้งอำเภอสามชุกเรียกว่า ท่ายางมีชาวบ้านนำของป่าจากทิศตะวันตกมาค้าขายให้กับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือ บ้างก็มาจากทางเหนือ บ้างก็มาจากทางใต้ เป็น 3 สาย จึงเรียกบริเวณที่ค้าขายนี้ว่า สามแพร่ง ต่อมาได้เพี้ยน เป็น สามเพ็ง และสำเพ็งในที่สุด ดังปรากฎหลักฐานกล่าวไว้ในนิทานพื้นบ้านย่านสุพรรณมีเรื่องกล่าวต่อไปว่า ในระหว่างที่คนมารอขายสินค้าก็ได้ตัดไม้ไผ่มาสานเป็นภาชนะสำหรับใส่ของขาย เรียกว่า กระชุกชาวบ้านจึงเรียกว่า สามชุกมาถึงปัจจุบัน อำเภอสามชุกเดิมมีพื้นที่ 774.9 ตารางกิโลเมตร ต่อมาในปี 2528 ได้มีการตั้งอำเภอหนองหญ้าไซ จึงแบ่งบางส่วนออกไป ยังคงเหลือเพียง 362 ตารางกิโลเมตร

ตลาดสามชุกจึงเป็นตลาดสำคัญในการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญในอดีต ตั้งแต่เมื่อ 100 กว่าปีก่อน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี

แต่เมื่อถนนคือ เส้นทางจราจรทางบกที่เข้ามาแทนที่การเดินทางทางน้ำ ทำให้คนหันหลังให้กับแม่น้ำท่าจีน  ความสำคัญของตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าริมน้ำเริ่มลดลง บรรยากาศการค้า ขายในตลาดสามชุกเริ่มซบเซา และเมื่อต้องแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และตลาดนัดภายนอก ทำให้ร้านค้าภายในตลาดต้องหาทางปรับตัว และเมื่อราชพัสดุ เจ้าของที่ดินที่ชาวบ้านเช่าที่ดินมายาวนาน ดำริจะรื้ออาคารตลาดเก่า สร้างตลาดใหม่ จึงทำให้ชาวบ้านพ่อค้าที่อยู่ในตลาดสามชุก ครูอาจารย์ที่เห็นคุณค่าตลาดเก่า รวมตัวเป็นคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกเชิงอนุรักษ์ระดมความคิด หาทางอนุรักษ์ตลาดและที่อยู่ของตนไว้ และหาทางฟื้นคืนชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง เป็นที่มาของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ใช้การท่องเที่ยวศึกษาวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิม ประวัติศาสตร์ชุมชน เป็นเครื่องมือการพัฒนาอาคารไม้เก่าแก่ ในตลาดสามชุก ที่ก่อสร้างเป็นแนวตั้งฉากกับแม่น้ำท่าจีน เป็นสิ่งบอกให้รู้ว่าเป็นลักษณะของตลาดจีนโบราณ เป็นชุมชนชาวไทย-จีน ที่ยังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน ลวดลายฉลุไม้ที่เรียกว่าลายขนมปังขิง ซึ่งเท่าที่พบในตลาดนี้มีถึง 19 ลาย คือ ศิลปะตกแต่งอาคารไม้โบราณ ที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน หากไม่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ก็ย่อมสูญหายไปเช่นเดียวกับตลาดโบราณอื่นๆนอกจากสถาปัตยกรรม อาคารไม้โบราณที่พบเห็นได้ตลอดแนวทางเดิน 2 ข้างทางเดินในตลาด








บ้านเรือนไม้เก่าๆ  ที่แลดูสวยงามด้วยลวดลายฉลุไม้ในชุมชนสามชุกและตลาดเก่าร้อยปี   จ.สุพรรณบุรี  ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้แพร่หลายในช่วงสมัยรัชกาลที่  5  นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่คนสามชุกช่วยดูแลอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมล้ำค่านี้ไว้ด้วยตระหนักในคุณค่าของตนเอง  จนได้รับรางวัล  "อนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทองค์กร"  ประจำปี  พ.ศ.2548  จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์


บ้านขุนจำนงจีนารักษ์เป็นอาคารห้องแถวไม้สามชั้น ที่คงไว้ซึ่งรูปแบบเรือนเก่าที่ระเบียงและเชิงชายฉลุลายไม้สวยงาม ขุนจำนงจีนารักษ์คหบดีชาวจีนผู้เป็นเจ้าของ เป็นนายอากรคนแรกของสามชุก ปัจจุบันตัวบ้านอยู่ภายในครอบครองของทายาท แต่ได้ให้คณะกรรมพัฒนาตลาดสามชุกเช่าทำพิพิธภัณฑ์เป็นเวลา 10 ปี ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ขายหนังสือและโปสการ์ดสวย ๆ รูปวาดตลาดสามชุกที่รายได้ส่วนหนึ่งนำไปสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน ชั้นล่างเปิดโล่งต้อนรับผู้มาเยือน โดยจัดแสดงนิทรรศการความเป็นมาของตลาดร้อยปีสามชุก โมเดลย่อส่วนของตลาด รวมไปถึงส่วนที่แนะนำร้านค้าและสถานที่ที่น่าสนในภายในตลาด อาทิ ร้านกาแฟท่าเรือส่ง บุญช่วยหัตถกิจ ร้านนาฬิกาโบราณ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสามชุก ร้านถ่ายรูปศิลป์ธรรมชาติ โรงแรมอุดมโชค ชั้นสองคงไว้ซึ่งเครื่องเรือนของท่านเจ้าของเดิมเหมือนเมื่อครั้งขุนจำนงจีนารักษ์ยังมีชีวิต ตามฝาผนังประดับประดาด้วยรูปภาพเก่าของครอบครัวจีนารักษ์ ส่วนชั้นที่สาม เป็นพื้นที่ของนิทรรศการหมุนเวียน



ไฮไลท์ที่สำคัญของตลาดสามชุกไม่ได้มีเพียงแค่บรรยากาศเท่านั้น แต่รายล้อมไปด้วยอาหารอร่อยสูตรโบราณที่มีอยู่มากมาย ตั้งแต่ร้านบะหมี่เจ๊กอ้าว ข้าวห่อใบบัว สูตรดั้งเดิม เจ๊ตี่เป็ดย่าง เป็นพะโล้ใหลำ นายเอ๋ผัดไทกุ้งสด เป็นต้น เรียกว่ากินได้กันอย่างอิ่มหนำสำราญกับรสชาติแสนอร่อยในราคามิตรภาพ คลุกเคล้ากับยิ้มสยามของพ่อค้าแม่ขายที่ยังไม่หายไปกับกาลเวลา





     ปัจจุบันชุมชนสามชุกนับได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โด่งดังอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย  มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาสัมผัสตลาดสามชุกอย่างหนาแน่นให้คนในชุมชนได้ทำมาหากินกันอย่างคึกคัก  นอกจากความงดงามของสถาปัตยกรรมแล้ว  ที่ถือเป็นมนต์เสน่ห์ของสามชุกนั้น  คือ  อาหารการกินพื้นบ้านและสินค้าที่หลากหลาย  ใครมีโอกาสไปเดินตลาดสามชุกจะรู้ว่าตลาดแห่งนี้ไม่ใช่แค่ตลาดขายอาหารธรรมดา

     ความสำเร็จของชุมชนสามชุกถูกตอกย้ำอย่างหนักแน่นอีกครั้ง  ด้วยการชนะรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกแห่งองค์การยูเนสโก  เมื่อต้นเดือนกันยายน  2552  ซึ่งได้มีการรับโล่รางวัลอนุรักษ์ของยูเนสโก    ชุมชนสามชุกตลาดร้อยปี  เมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา  โดยอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  นายกรัฐมนตรี  เป็นประธานในพิธีรับมอบ  ยังผลให้ตลาดสามชุกได้รับความสนใจและให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ  แต่การได้มาซึ่งรางวัลคงไม่สำคัญไปกว่าคนในสามชุกนี้ทะนงในคุณค่าและดูแลรักษาชุมชนให้เข้มแข็ง  เพราะในวันนี้กระแสการท่องเที่ยวที่ถาโถมเข้ามาอย่างหนัก  ชุมชนสุ่มเสี่ยงระหว่างความเจริญกับความล่มสลาย

          แต่การตัดถนนหลักเชื่อมกรุงเทพฯ  เมื่อ  20  ปีก่อน  ทำให้สามชุกที่เคยเจริญกลับซบเซา  และเมื่อกรมธนารักษ์มีนโยบายจะรื้อตลาดเก่าสร้างตลาดใหม่  เพราะตลาดเก่าทรุดโทรม  คนในสามชุกจึงรวมตัวกันเกิดเป็นคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกเชิงอนุรักษ์  เมื่อปี  พ.ศ.2543  เราก็ประชุมกัน  ทุกคนเห็นว่า  ควรอนุรักษ์ตลาดสามชุกไว้  ฟื้นฟูตลาด  ประเพณี  และอาหารดั้งเดิมในตลาดสามชุก  รวมถึงการปรับปรุงบ้านของขุนจำนงจีนารักษ์  คนสำคัญของสามชุก  เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนในตลาด  ซึ่งลูกหลานยินดีให้คณะกรรมการฯ  ทำเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  ชาวบ้านก็ช่วยกันอนุรักษ์พัฒนาตลาด  เริ่มมีคนมาเที่ยวตลาดสามชุก  มาชมเรือนไม้เก่า  ซื้ออาหารอร่อยๆ  ในตลาด  ก็แนะนำกันปากต่อปาก  สร้างรายได้ให้คนในสามชุก

     ทุกวันหยุดสุดสัปดาห์จะมีนักท่องเที่ยวมาไม่ต่ำกว่า  5,000  คน  แต่หลังจากได้รับรางวัลของยูเนสโก  คนมาเที่ยวสามชุกเกือบถึง  10,000  คน"  พงษ์วินบอกตัวเลขนักท่องเที่ยวที่ไปสำรวจกันจริงๆ  โดยคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกฯ

     ทั้งนี้  ร้านค้าในตลาดสามชุกปัจจุบันมีประมาณ  200-300  คูหา  แต่ในวันหยุดจะมีร้านขายของเพิ่มถึง  600  ร้าน  จากการสำรวจ  80%  เป็นของคนสามชุก  10%  เป็นของคนในอำเภอใกล้เคียง  ที่เหลืออีก  10%  เป็นคนข้างนอกมาขาย  นอกจากนี้  ปกติหน้าบ้านจะขายของกันเอง  แต่ในปัจจุบันบางบ้านเริ่มเปิดพื้นที่ให้เช่า  อย่างไรก็ตาม  ประธานคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกให้ข้อมูลว่า  คนสามชุกจะประชุมกันเดือนละครั้งเพื่อสรุปการทำงาน  ปัญหา  และอุปสรรคร่วมกัน  ผลจากการประชุมจะเป็นกติกาชุมชนนำไปสู่การปฏิบัติ  เน้นสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชน  ในปี  2553  จะเริ่มทำระบบบำบัดน้ำเสียของชุมชน  จากเดิมที่ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะรวมทั้งมีโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมแม่น้ำท่าจีน  ไม่มีปัญหาขยะ  เพราะชุมชนมีการคัดแยกและนำของเสียมาผลิตก๊าซชีวภาพใช้ในชุมชนอีกด้วย

     เดิมตั้งใจไว้ว่าทำให้ตลาดที่หยุดนิ่งไปฟื้นการค้าขายขึ้นมา  และเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  อนุรักษ์ตลาดเก่าของเก่าไว้  จน  3  ปีมานี้เกิดกระแสการท่องเที่ยวขานรับมากมาย  แต่ชุมชนก็ยังเน้นเรื่องอนุรักษ์  ที่นี่ชาวบ้านร่วมมือร่วมใจกัน  ไม่ปิดกั้น  แต่คนอื่นที่เข้ามาต้องรับกติกาของชุมชน  ถ้าชุมชนเข้มแข็งและสามัคคี  ปัญหาเข้ามายังไงก็รับและสู้ได้"  ผู้มีส่วนร่วมฟื้นฟูสามชุกตลาดร้อยปีเชื่ออย่างนั้น


     พัฒนาการของชุมชนสามชุกมาจากข้างในเป็นภาคประชาชน  โดยไม่มีรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง  ชาวบ้านทำเองด้วยสำนึกร่วมบ้านเกิด  รักมาตุภูมิ  เมื่อมีวิกฤติ  มีคนจะมารื้อบ้านก็แสดงออก  เกิดการต้านเป็นกลุ่ม  เป็นองค์กรชุมชน  คนในสามชุกเป็นสังคมชนชั้นกลางผู้มีสติปัญญาและเสียสละ  ช่วยคิดช่วยค้นคว้าความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  เรียนรู้จากสิ่งที่มี  และร่วมกันทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อปลุกสำนึกร่วมของชุมชน  ทำให้ความเป็นคนสามชุกมีพลังขึ้นมา  เมื่อทำเสร็จคนสามชุกเป็นเจ้าของ  นี่คือความเป็นสามชุกที่ไม่เหมือนที่อื่น  พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหลายแห่งคนนอกมาสร้างให้โดยที่ชาวบ้านไม่รู้เรื่อง

     การมาเที่ยวตลาดสามชุกไม่ใช่เพียงซื้อของเห็นของ  แต่ได้เห็นการค้าขายและชีวิตของชุมชนในตลาดสามชุก  เห็นบ้านเรือนเก่าตั้งแต่อดีตจนทุกวันนี้  อย่างบ้านขุนจำนงจีนารักษ์  เห็นโครงสร้างชุมชนที่มีศาลเจ้าเป็นตัวเชื่อม  มีพิธีกรรมที่ทำร่วมกัน  ตลาดหลายแห่งพัฒนาโดยตัดมิติทางจิตวิญญาณออกไป   แต่ที่นี่พัฒนาในแบบคนกับคน  คนกับธรรมชาติ  และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ   โดยเฉพาะการค้าขายไม่ใช่ตะบี้ตะบันขายทุกวันขอแค่ให้ได้เงิน  โดยของที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวสามชุกจะทำขายวันเสาร์-อาทิตย์เท่านั้น  นี่คือวิถีแห่งความพอเพียง  แต่ละร้านพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ลูกหลานกลับมาช่วยทำ

     ความเก่าแก่ที่เป็นรากเหง้าสามชุกมีศักยภาพในการสื่อสารสูง  ถ้าเอาวัฒนธรรมต่างชาติมาก็เป็นแค่กระแส  แต่ปัญหาขณะนี้สามชุกกำลังจะพังไม่พังแหล่  เกิดความแออัด  Over  Load  จนกระทั่งท้องถิ่นไม่สามารถควบคุมได้  ที่นี่เผชิญแรงกดดันและถูกรุกเร้าจากข้างนอกมากเกินศักยภาพของสามชุก  ถ้าปล่อยให้ขยายพื้นที่กว้างกว่านี้จะพัง  เพราะข้างในคุมไม่ได้  ตอนนี้สามชุกสู้แบบต่อรอง  สินค้าที่ชุมชนทำเองผลิตเองจะขายในตลาด  แต่สินค้าจากคนนอกจะขายรอบนอก

     ทุกวันนี้ตลาดนัดท้องถิ่นกลายเป็นตลาดนัดอุตสาหกรรม  ของขายมาจากร้อยพ่อพันธุ์แม่  และไม่มีคุณภาพ  ส่วนตลาดน้ำหลายแห่งเอกชนเข้าไปจัดการ  โดยให้คนข้างนอกแย่งที่ทำมาหากินชาวบ้าน  มองที่การผลิตขนานใหญ่เป็นตัวตั้งตามค่านิยมตะวันตก  ซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อม  ตลาดนัดท้องถิ่นล่มสลายไปหมด  ต่างจากเศรษฐกิจพอเพียงเน้นชุมชนท้องถิ่นและเทคโนโลยีพื้นบ้านในการผลิต  ที่เน้นความกลมกลืนกับธรรมชาติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

     แต่การต่อสู้กับระบบทุนนิยม  องค์กรภายในต้องทำความเข้าใจและเข้มแข็ง  หากมีร้านค้าว่างในตลาดแล้วปล่อยให้คนข้างนอกเข้ามาเช่าและขายของ  ก็จะกลายเป็นตลาดนัดอุตสาหกรรมไป  เพราะขาดสินค้าสำคัญของท้องถิ่น  นั่นคือผลิตภัณฑ์จากฝีมือและภูมิปัญญาท้องถิ่น  โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินถือเป็นตัวอย่างภูมิปัญญาที่ดีของสามชุก  อาหารอร่อยสามชุกมีการรื้อฟื้นและพัฒนาต่อเนื่อง  เกิดเศรษฐกิจที่ยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    
     ปัญหาการไหลบ่าของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวสามชุกอย่างเนืองแน่น  ที่ชุมชนเองก็กำลังตระหนักในปัญหา  ยังอาจถูกซ้ำเติมอีก  เมื่อคนในคณะรัฐบาลบางคนออกมาพูดถึงแนวทางการทำให้เศรษฐกิจขยายตัวด้วยการท่องเที่ยวในประเทศ  ซึ่ง  "สามชุก"  ก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่จะมีการป่าวร้องโฆษณาให้คนมาเที่ยวอีก  เพราะเพิ่งได้รับรางวัลจากยูเนสโกมาหมาดๆ

     ฉะนั้นถ้าจะกล่าวถึงสเน่ห์ที่แท้จริงของตลาดสามชุกนั้นคงไม่ใช่แค่บรรยากาศสมัยก่อน หรือตัวงานสถาปัตยกรรมที่มีหลงเหลืออยู่ให้หวนลำลึกถึงอดีตเท่านั้นแต่สิ่งที่น่าจะเป็นคำถามถึงความแท้จริงนั้นคำตอบคงเป็นเรื่องความมีชีวิตที่ยังหลงเหลือการดำรงชีวิตที่ยังมีให้เห็นอยู่ ซึ่งประเด็นคือตลาดสามชุกนั้นไม่ได้ตายไปแล้วมีคนมาสร้างบรรยากาศให้เป็นเหมือนเดิม แต่ตลาดสามชุกนั้นมีชีวิตที่ไม่เปลี่ยนแปลงหรือมีความเปลี่ยนแปลงน้อยมากเท่านั้นเอง  ซึ่งเป็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่ประกอบกิจการต่อกันเป็นรุ่นสู่รุ่น ไม่ใช่มีคนนอกมาประกอบหาผลประโยชน์แล้วตกแต่งร้านให้ดูโบราณ
   แต่เมื่อกระแสการท่องเที่ยวถูกโปรโมทอย่างหนัก ทำให้รายได้ของผู้ประกอบการนั้นมีมากขึ้น ทำให้ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ซึ่งเป็นผลดีคือพ่อค้าแม่ค้าได้ผลกำไรมากมาย มีการขึ้นราคาสินค้าอย่างมาก อีกทั้งจำนวนนึกท่องเที่ยวนั้นเพิ่มขึ้นมาจนทำให้การเดินชมบรรยากาศเริ่มจะเสียความขลัง กลายเป็นความแออัดที่เกินจะรับได้ ดังนั้นแล้วถ้าไม่มีการแก้ปัญหาเมื่อปล่อยไว้เป็นเวลานาน ความแท้ของสภาพท้องถิ่นนั้นก็คงจะค่อย ๆ เลือนลางหายไป ไม่สามารถดำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ดังที่จะเห็นได้จากสถานที่ท่องเที่ยวที่เกิดปัญหานี้ตามมา ไม่ว่าจะเป็นเมืองปาย หรือตลาดอำพวา ก็เป็นได้
     "ตลาดสามชุก" ในวันนี้หากไม่ต้องการเป็นแค่เพียงแค่ "ตลาด" เท่านั้น และหากยังคงแน่วแน่เพื่อเป็น "พิพิธภัณฑ์มีชีวิต" เป็น "ลมหายใจแห่งอดีต" ที่ยังเปิดประตูต้อนรับรอการเยี่ยมเยือนจากนักท่องเที่ยวต่างถิ่น หรือแม้แต่ต่างชาติ ควรต้องหมั่นตรึกตรองและทบทวนการดำเนินงานของชุมชน ให้ยึดมั่นกับสัญญาต่อประชาคมว่าจะเป็นตลาดร้อยปี ในเชิงอนุรักษ์ มิใช่หวังกระแสการบูมแล้วละเลย ความเป็นอดีตที่น่าจดจำเล่าขานสืบต่อกันจนชั่วลูกหลาน


สุดท้ายนี้จากการทำรายงานเรื่องตลาดสามชุก ผู้จัดทำเองก็ได้นำข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสื่อทางอินเตอร์เนต หรือจากการสอบถามบุคคลที่รุ้จักที่อยู่ในตลาดสามชุกเอง หรือแม้กระทั่งการวิเคราะห์จากผู้ทำรายงานเอง ซึ่งเรียนวิชาอนุรักษ์  ก็ทำให้เกิดแง่คิดถึงการอนุรักษ์ชุมชนโบราณ เป็นกรณีศึกษาตลาดสามชุกนี้ด้วยในเรื่องถึงความแท้และคุณค่าที่มีอยู่   ทำให้ได้ประโยชน์ต่อการคิดวิเคราะห์ในเรื่องต่าง ๆ อีกด้วย


วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 9 01/08/2010

วัดราชบูรณะ พิษณุโลก


ลักษณะของวัดนั้นได้รับอิทธิพลจากอยุธยา เป็นบ้านเมืองพี่เมืองน้องกับอยุธยาเนื่องจากเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนเรศวรประสูติ และเป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์พิษณุโลกด้วย  ภายในอุโบสถนั้นมีการเขียนภาพรามเกียร์ติที่สวยงาม  การใช้โครงสร้างนั้นเป็นเสาปูนและรับหลังคาโครงไม้ ซึ่งโครงสร้างดุหนักแน่น แข็งแรงมาก แต่ถูกลดความแข็งด้วยลวดลายต่าง ๆ ที่ประดับประดาตัวเสาและส่วนต่าง ๆ ภายใน
นอกจากนั้นแล้วยังมีการเก็บรักษาจักรยานเก่า ๆ ที่มีมาตั้งแต่สมัย ร.5 รวมถึงเรือพระพี่นั่งสมัยเสด็จประภาสพิษณุโลกหลงหลืออยู่ให้ประชาชนได้สักการะอีกด้วย
 
 
 
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (พระพุทธชินราช) พิษณุโลก


การวางผังของวัดนี้เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก โดยเริ่มจากลานกว้างไปสู่อุโบสถอันเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธชินราช ผ่านเข้าซุ้มประตูล้อมรอบด้วยวิหารคต ประดับด้วยพระพุทธรูปจำนวนมากวางอย่างเป็นระเบียบแสดงถึงความศรัทธาของชาวบ้าน  นอกจากนั้นแล้ววิหารรองนั้นจริง ๆ แล้วเป็นการลวงสเปสทำให้เสมือนว่าระเบียงคตที่เราอยู่นั้นเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสแต่ที่จริง ๆ แล้วเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แสดงว่ามีการลดทอนบางอย่างหรือการใช้สเปสที่ร่วมกันในบางจุด ซึ่งผมเองยังไม่เข้าใจนัก ถือว่าเป็นความชาญฉลาดของช่างสมัยก่อนได้อย่างมาก
มุมมองในแต่ละส่วนของวัดสามารถมองเห็นพระธาตุได้อย่างดีแสดงถึงการวางผังโดยยึดหลักมุมมองได้อย่างดี
 
 
 
 
 
หลังจากนั้นก็ได้แวะซื้อของฝาก แวะรับประทานอาหาร และเดินทางกลับลาดกระบังอย่างสวัสดิภาพ
 
 
 
ขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่ให้ความสำคัญในการออกทริป เพื่อเปิดมุมมองใหม่ ๆ จากสิ่งที่เราคุ้นเคยเป็นประจำให้เกิดสำนึกและเกิดคุณค่าทางความงามเมื่อได้พบเห็น  การออกทริปครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากไม่ใช่ในเชิงอนุรักษ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้นยังเป็นส่วนช่วยให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการมองทางด้านความงาม
การวิเคราะห์สิ่งต่างๆ  ไม่ใช่เพียงอาคารเพียงเท่านั้น แต่รวมไปถึงทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ทุ่งหญ้า สิ่งของ หรือแม่กระทั่งของกิน ทุกอย่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดีไซน์ทั้งสิ้น การเสพความงามในด้านต่าง ๆ จำเป็นสำหรับนักศึกษาสถาปัตย์อย่างมาก การที่เรานั่งทำงานอยู่ในห้องหรือไม่เคยได้สัมผัสสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเสมือนการที่เราปิดหุปิดตาตัวเอง อาจารย์ทุกท่านได้เปิดตาพวกเรา ได้ให้แง่คิดใหม่ ๆ ในการดำเนินชีวิตที่จะอยู่ในโลกของความงาม    สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์ไก่เป็นอย่างมากที่ทำให้เราได้ทบทวนสิ่งที่เราได้ไปพบเจอ ได้คิดวิเคราะห์ออกมาถึงแม้ว่ามันอาจจะไม่ถูกต้องบ้าง แต่ก็เป็นประโยชน์กับนักศึกษาในภายภาคหน้าต่อไป  

วันที่ 8 31/07/2010

กงไกรลาศ สุโขทัย

ที่นี่เป็นบ้านของคุณลุงของอาจารย์ตี๋ ซึ่งเป็นบ้านไม้โบราณ มีขนาดที่ใหญ่เนื่องจากต่อเติมไปเรื่อยๆ หน้าบ้านติดถนนด้านหลังติดแม่น้ำ  โดยมีสวนหลังบ้านซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อนที่มีขนาดใหญ่  เนื่องจากระดับน้ำเมื่อสูงขึ้นนั้นอาจจะถึงตัวบ้าน



หลังจากที่ได้ฟังการบรรยายพิเศษจากคุณลุงแล้วก็ได้เดินสำรวจที่กงไกรลาศนั้นเป็นชุมชนเก่าแก่ มีการค้าขายทางน้ำในสมัยก่อน  บ้านโบราณเห็นได้ทั่วไปตามถนน เนื่องจากติดแม่น้ำจึงมีการจับปลา และบ้านริมน้ำนั้นมีการยกใต้ถุนที่สูงมาก แสดงให้เห็นถึงระดับน้ำที่สูงในหน้าน้ำหลาก




หลังจากพักรับประทานอาหารเสร็จแล้วก็ได้ไปที่สนามบินสุโขทัย

ความน่าสนใจของการออกแบบที่ลงตัวและเข้ากับสภาพพื้นที่นั้นเป็นสิ่งที่ทำให้สนามบินนี้เป็นสนามบินที่มีความสวยงาม อีกทั้งยังมีการทำกิจกรรมกับชาวบ้านเป็นการสร้างรายได้สู่ชุมชน  จากการเดินทางหลาย ๆ วันและเก็บข้อมุลจากสิ่งที่มีอยู่ในพื้นถิ่นนั้นก็ได้คำตอบคือสนามบินแห่งนี้ว่าทำไมเราจำเป็นจะต้องศึกษางานพื้นถิ่น คำตอบคือ เอกลักษณ์ของความเป็นไทย อยู่ที่จุดใดไม่ใช่เพียงการใช้หลังคา แต่สิ่งที่แสดงถึงความเป็นไทยนั้นถูกส่งออกมาให้เห็นจากสเปส และบรรยากาศ เมื่ออยู่ในสนามบินสุโขทัยนั้นบ่งบอกได้ถึงความเป็นไทยและการรักษาอัตลักษณ์ของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน แม้จะเป็นอาคารที่ต้องตอบสนองทางด้านฟังก์ชั่นที่เป็นสากล แต่ยังรักษาสเปสและลักษณะโครงสร้างได้ชัดเจนแม้อาจจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย



โรงแรมสุโขทัย

เป็นการออกแบบที่หยิบยกลักษณะของอุทยานประวัติศาสตร์มาใช้เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของจังหวัดสุโขทัย
ดังนั้นวัสดุและโทนสีจึงเป็นอิฐเรียงกัน นอกจากนั้นแล้วการวางตัวอาคารจึงเป็นแบบสมมาตร เหมือนกันวัด
มีการสร้างบ่อน้ำตรงกลางและมีอาคารล้อมรอบ สร้างสเปสให้เกิดความเป็นส่วนตัวด้วยการซ่อนทางเดินไว้ด้านหน้าแต่มีการบังสายตา และสามารถเปิดมุมมองออกมาภายนอกห้องพักที่เจอกับสระว่ายน้ำ





หลังจากนั้นก็ได้กลับเข้าไปที่ศรีสัชนาลัยอีกครั้ง
ไปดูบ้านพื้นถิ่นจนเย็นแล้วก็กลับไปที่พัก

วันที่ 7 30/07/2010

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย วัดพระศรีมหาธาตุราชวรวิหาร สุโขทัย


ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือการวางกำแพง ที่มีลัษณะเป็น modular โดยเป็นกำแพงเตี้ย ๆ กั้นสเปสจากภายนอก แต่สามารถมองเห็นได้ชัด  ซุ้มประตูเป็นศิลาแลงวางเป็นท่อนเตี้ย ๆ แต่ไม่เหมือนกับวัดมหาธาตุคือประตูจะอยู่ตรงกลางและสามารถมองทะลุไปถึงพระปรางค์ได้ชัดเจน นอกจากนั้นแล้ววัดนี้ได้แสดงถึงความสมมาตรและการนำศิลปะขอมมาร่วมใช้ แสดงถึงช่วงเวลาของเมืองศรีสัชนาลัยซึ่งเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับสุโขทัย
 
 
วัดกุฎีราย สุโขทัย


การออกแบบของวัดนี้เป็นต้นฉบับของหลังคาสุโขทัย การเรียงอิฐให้เหมือนกับฝาปะกนไม้ ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าเดิมทีการสร้างอาคารนั้นมาจากโครงสร้างไม้ส่วนใหญ่ การทำอาคารนั้นน่าจะทำให้ดูโปร่งเบาซึ่งวัดนี้ถือว่าเป็นว้ัดป่าอยู่รอบนอกกำแพงเมือง
 
 

ความโปร่งเบาจากการเจาะช่องเปิดตามตั้ง
จากนั้นได้แวะชมหมู่บ้านรอบ ๆ วัดนี้


พิพิธภัณฑ์เตาสังคโลก
   เป็นการออกแบบที่ผสมผสานการใช้ศิลาแลงโดยการหยิบยก pattern ของการเรียงอิฐมาใช้ อาคารนั้นดุโปร่งสบายเหมือนบ้านพักอาศัย นอกจากนั้นยังใช้กำแพงที่ไม่สูง ทำให้เกิดความเข้ากันได้กับหมู่บ้านได้ดี


วัดเจดีย์เก้ายอด สุโขทัย


    เป็นวัดที่อยู่บนเนินเขา ซึ่งการใช้ศิลาแลงในการทำเป็นขั้นบันได มีการสกัดหินเป็นทางลาดซึ่งหาไม่ได้จากที่อื่น  นอกจากนั้นการเข้าสู่ตัวอาคารนั้นทำได้อลังการ เพราะว่าการที่จะเข้าถึงอาคารนั้นต้องเดินขึ้นไปตามขั้นบันไดทางด้านข้าง ดังนั้นลักษณะของอาคารเสมือนลอยตัวอยู่บนฐานเมื่อมองจากด้านหน้า
 
 
วัดนางพญา สุโขทัย


      สิ่งที่ได้เห็นคือในแง่มุมของการอนุรักษ์สิ่งที่มีเหลืออยุ่ชิ้นเดียว เพื่อรักษาให้ประติมากรรมนูนต่ำลวดลายปูนปั้นที่หลงเหลืออย่างสมบูรณ์ ที่เป็นของดั้งเดิมนั้นจำเป็นจะต้องสร้างหลังคาเพื่อคลุมกันแดดกันฝน ลวดลายปูนปั้นเป็นลายไทยที่มีลักษณะผูกติดกันไปเรื่อย ๆ มีความสัมพันธ์กันไปเป็นทอด ๆ
 
 
 
วัดช้างล้อม สุโขทัย


     ประเด็นที่มองถึงวัดนี้คือประติมากรรมช้างนั่นเอง ซึ่งการที่ช้างนั้นไม่เหมือนช้างจริง ๆ เสมือนว่ามีการตัดทอนลายละเอียดลง ทำให้ดูไม่เด่นจนเกินไปกว่าพระธาตุนั่นเอง
 



หลังจากนั้นได้เดินขึ้นไปข้างบน มีกลิ่นขี้นกไม่ขาดสาย แล้วเริ่มเหนื่อยล้าจากการเดินเป็นอย่างมาก
อีกทั้งยังถูกแมลงป่ากัดเป็นแผล คุ้มจริง ๆ สำหรับการมาที่นี่ได้อะไรเยอะแยะ
 

วันที่ 6 29/07/2010

ชุมชนบ้านไผ่เขียว ต.ไผ่ล้อม อุตรดิตถ์


ระหว่างการเดินทางไปเมืองลับแลนั้นก็ต้องผ่านที่ไผ่ล้อมก่อน  โดยรถจอดอย่างไม่ทันตั้งตัว แต่สิ่งที่จอดให้ดูนั้นก็สมกับที่ควรจอด

การเล่นระเบียงยื่นไปเป็นหลังคาอีกที
สิ่งที่ประทับใจที่ไผ่ล้อมนั้น คงจะเป็นบ้านหลังที่อยู่ในรูป เนื่องจากการวางแลนสเคปและการเล่นลีลาทางด้านโครงสร้างนั้นนึกไม่ถึง จะเห็นได้จากรูปมีการนำหลังคายื่นออกมาจากที่นั่งซึ่งประยุกต์เข้ากันได้อย่างดี
บริเวณหน้าบ้าน
จะเห็นได้จากแมสตัน ๆ เปิดช่องใต้ถุนเป็นบริเวณพักผ่อน ทางเดินไหลขึ้นไปบนบ้านดูเข้ากันดี นอกจากนั้นแล้วการจัดแลนสเคปเป็นแบบไทยๆ  เป็นพืชผักสวนครัวทั้งสิ้น นอกจากสามารถนำมาประกอบอาหารแล้วยังสามารถสร้างบรรยากาศที่ร่มรื่นอีกด้วย
 
วัดดอนสัก อ.ลับแล ต.ฝายหลวง อุตรดิตถ์


วัดนี้เป็นการผสมผสานโครงสร้างระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง โดยจะมีศาลาการเปรียญที่ใช้โครงสร้างไม้แต่เป็นการพาดช่วงกว้างได้อย่างน่าทึ่ง การเปิดช่องให้เป็นลูกกรงช่วงระบายอากาศที่ดี และยังช่วยเรื่องแสงรวมถึงการมองเห็นภายนอกด้วย
 
ประตูอุโบสถแกะสลักด้วยไม้ งานฝีมือของช่างวัดนี้เป็นสิ่งที่สวยงาม คันทวยแต่ละอันไม่เหมือนกันสักอัน แต่สามารถสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ ภายในใช้โครงสร้างที่มีความหนามาก ไม่เหมือนกับวัดที่เคยไปมา ทำให้ดูแข็งแรง ทนทาน แต่ไม่ดูมากจนเกินไป
 
 
 
หลังจากนั้นแล้วก็ได้ทำกิจกรรมเหมือนทุกวันคือ เยี่ยมชมบ้านพื้นถิ่น
 
<>
บ้านที่่ทำขนมโบราณ

วันที่ 5 28/07/2010

วันนี้อยู่ที่สุโขทัย โดยหลักแล้ววันนี้จะศึกษาโบราณสถานเมืองสุโขทัยเป็นหลัก

เริ่มด้วยสรีดภงค์ เป็นอ่างเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับการเกษตรกรรมสมัยก่อน ในปัจจุบันได้มีการสร้างเขื่อนซ้อนทำให้ชาวบ้านละแวกนั้นได้ใช้อ่างเก็บน้ำอย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
สรีดภงค์
หลังจากนั้นแล้วก็ได้ไปที่วัดมังกร ซึ่งเป็นวัดป่า อยู่ภายนอกกำแพงเมืองสุโขทัย
ลักษณะการวางผังวัดนั้นหมือนวัดปงยางคก วัสดุหลักนั้นใช้ศิลาแลง ซึ่งเป็นวัสดุหลักที่หาได้ง่ายในพื้นที่
และสามารถก่อสร้างทำเป็นบล๊อคนำมาเรียงต่อกันได้ง่าย เนื่องจากการสร้างวัดนั้นตรงกับสมัยที่อาณาจักรศรีวิชัย การเจริญทางด้านพระพุทธศาสนานั้นเป็นอย่างมาก สังเกตุได้จากใบเสมาหน้าวัดจะเป็นใบเสมาคู่ สันนิฐฐานว่าน่าจะเป็นการรวมกันของสองนิกายนอกจากนั้นแล้วจะมีบ่อน้ำโบราณที่พบเห็นได้บริเวณนั้นด้วย

วัดมังกร

วัดมหาธาตุ
ทางเข้าของวัดนั้นไม่ได้อยู่ด้านหน้าตรงกลางของวัด แต่จะเข้าทางด้านหน้าที่เยื้องไปทางด้านข้าง เมื่อเข้าถึงอาคารแล้วจะเห็นเจดีย์บริวารทั้ง 8 เป็นการทำให้เกิดมุมมองที่ต้องเดินต่อไปโดยไม่หลง เหมือนกันเป็นการชี้ทางเป็นนัยด้วยการกั้นสเปส ก็จะเห็นวิหารหลวงทางด้านขวามือ และสามารถเดินเข้าไปในเนินปราสาทได้

เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดหลวง เป็นที่พำนักของกษัตริย์ จึงมีการกั้นสเปสที่เป็นส่วนตัว แต่ว่าไม่ได้กั้นด้วยกำแพงแต่กั้นด้วยสายตาและสเปสที่ตัดกันไปมา นอกจากนั้นแล้วยังมีการกั้นกำแพงเตี้ย ภายนอกด้วยเช่นกัน
วัดมหาธาตุ
หลังจากนั้นได้แวะกินข้าวที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สิ่งที่ได้เห็นก็คือว่าการออกแบบที่สอดคล้องกับคอนเซปที่สะท้อนรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยทำได้อย่างดี โดยการนำการใช้อิฐและสิลาแลง นำมาประยุกต์เข้ากับเรือนหมู่และการจัดสเปสการเข้าถึงอาคารที่เหมาะสมเข้ากับสุโขทัยได้ดี

วัดพระพายหลวง สุโขทัย

     เป็นการก่อสร้างโดยได้มีอิทธิพลมาจากขอม โดยพระปรางค์แบบขอมเป็นส่วนเดิมและมีของสุโขทัยมารวมกัน การวางผังคล้ายกับวัดข่วงกอม โดยโบสถ์มีการทำพิธีกรรม และเหมือนศาลาการเปรียญ นอกจากนั้นแล้วยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์และพุทธที่ผสมผสานกันในความเชื่อของคนในสมัยสุโขทัยหลังจากที่อาณาจักรขอมได้เสื่อมอำนาจลง
วัดพระพายหลวง

วัดศรีชุม สุโขทัย




     เริ่มด้วยการเข้าถึงอาคารจะพบวิหารเล็ก ๆ และสิ่งที่เห็นได้ชัดคือพระพุทธรูปด้านหน้าองค์ใหญ่เรียกว่า พระอาจนะ บนเพดานจารึกพระเจ้า 500 ชาติเอาไว้ สิ่งที่น่าสนใจคือทางด้านโครงสร้าง ด้านในประกอบด้วยผนังสองชั้น ด้านในสามารถให้คนเดินเข้าไปและไปโผล่ตรงด้านหลังพระ ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรได้ใช้ให้ทหารในการเรียกขวัญกำลังใจ เนื่องจากสามารถได้ยินเสียงก้องกังวาลมาจากข้างหลังพระ สเปสที่ดุยิ่งใหญ่ทำให้เกิดความซึมซับในความสงบของพระพุทธ ทำให้เกิดความศรัทธาไม่แพ้โบสถ์ของโกทิกด้วยซ้ำ  

วัดศรีชุม
วัดศรีสวาย สุโขทัย


      วัดนี้อาจารย์จิ๋วได้ให้แง่คิดในการออกแบบเรื่องการใช้ pattern ของผนังศิลาแลง กับผนังปูนเปลือย คุณค่าที่เกิดขึ้นจากการเวลาทำให้วัสดุเหล่านั้นได้แสดงความแท้ออกมา การเปิดช่องทางตั้งรับกับภายนอกที่มีการสร้างบ่อน้ำ เป็นสวนรอบ มีการนำน้ำจากใต้ดินมาใช้ นอกจากนั้นแล้วยังประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นที่เห็นได้บนพระปรางค์ โดยแนวคิดการออกแบบนี้สามารถนำมาใช้ได้กับรีสอร์ทได้อย่างดี เป็นการเล่นกับวัสดุที่แท้จริง

วัดศรีสวาย


หมู่บ้านสังคโลก สุโขทัย


    เมื่อเดินทางกลับนั้นก็ได้แวะไปเยี่ยมชมบ้านพื้นถิ่นอีกตามเคยจนกว่าแสงไม่พอที่จะถ่ายรูป  บ้านหลังที่ผมสนใจนั้นก็คือบ้านที่อยู่ในรูป เป็นการเล่นแมสที่ตันเจาะช่องเปิดใต้ถุนกว้าง ๆ เพื่อรับแสง ในขณะที่แมสตัน ๆ นั้นได้ถูกเจาะไปทำให้เกิดสเปสที่น่าสนใจในความเชื่อมต่อระว่างฝากหนึ่งไปอีกฝากหนึ่ง นอกจากนั้นแล้วการเล่นสังกะสีในการเป็นวัสดุมุงผนังนั้นทำให้แมสที่ตันมีความเด่นออกมาอีกด้วย



หลังจากนั้นแล้วแสงก็ลับขอบฟ้า เราก็ได้เดินทางกลับที่พักกันอย่างสมใจ  5555

วันที่ 4 27/07/2010

วันที่ 4 ของการออกทริป

วันนี้ได้ไปดูวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งคือวัดปงสนุก แต่เดิมเป็นโบราณสถานที่ถูกทิ้งเอาไว้ แต่ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่โดยคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้รับรางวัลการอนุรักษ์ดีเด่นจาก UNESCO อีกด้วย
ลักษณะของวัดนี้อยู่บนเนินดินที่สูง เข้าสู่ตัวอาคารโดยผ่านบันไดที่มีมีประติมากรรมปูนปั้ันรูปนาค มุ่งสู่วิหารด้วยการนำสายตาจากบันไดได้อย่างดี แต่การเข้าถึงนั้นต้องเดินเข้าจากด้านข้าง ลักษณะของวัดปงสนุกนั้นเป็นศิลปะผสมผสานระหว่างล้านนาและพม่า ลักษณะโครงสร้างที่ซับซ้อนรวมถึงการใช้สีเป็นเอกลักษณ์ทางพม่าซึ่งเป็นการเล่นหลังคาซ้อนชั้นหลาย ๆ ชั้น ดังจะเห็นได้จากรูปนั้นเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ในการออกแบบโครงสร้างไม้ โดยที่มีการรับแรงไม่ตรงจุดเสา แต่เป็นการยื่นคานไปรับเสาที่รับหลังคาอีกทีหนึ่ง

วัดปงสนุก

จากนั้นก็ได้ไปที่วัดศรีรองเมือง

วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่โดยเริ่มทำการก่อสร้างโดยคหบดีชาวพม่าที่เชื่่อว่าการตัดไม้ทำลายป่าเป็นการทำลายธรรมชาติจึงได้สร้างวัดนี้เพื่อขอขมาเทวดาต่าง ๆ ที่อยู่ในต้นไม้

ลักษณะเด่นของวัดนี้คือการใช้กระจกในการประดับประดาภายในตัวอาคารซึ่งเป็นหมู่เรือนขนาดใหญ่ หลังคาที่ซ้อนชั้นหลาย ๆ ชั้นนั้นก่อให้เกิดการระบายอากาศที่ดี ทำให้ภายในวัดนั้นร่มเย็น

วัดศรีรองเมือง กับการใช้กระจกประดับอาคาร

จากลำปางเราได้ออกเดินทางไปสู่จังหวัดแพร่เพื่อไปดูหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะของสิ่งที่มีอยู่และวิถีการดำเนินชีวิตของคนท้องถิ่น

ลักษณะของบ้านเป็นบ้านไม้เปิดใต้ถุนสุง มีลานดินอยุ่หน้าบ้าน และมียุ้งเก็บข้าว  การสร้าง curculation ทำให้เกิดแกนของบ้านแบ่งแยกสเปสระหว่างบ้านสองหลัง คั่นกลางด้วยยุ้งเก็บข้าว นอกจากนั้นแล้วยังล้อมรอบด้วยพืชสวนครัว


นอกจากนั้นแล้วการใช้สังกะสีทำให้เกิดความแตกต่างที่ลงตัวของวัสดุ อีกทั้งยังมีการเล่นระเบียงโดยใช้เสาเล็ก ๆ ค้ำหลังคาที่ยื่นมาอีกทีหนึ่ง ทำให้เกิดความโปร่งของอาคาร อีกทั้งยังช่วยให้เกิดฟังก์ชั่นในการตากผ้า สามารถนำมาประยุกต์กับการออกแบบรีสอร์ทได้ดี

การใช้เสาค้ำหลังคานอกจากจะช่วยเรื่องโครงสร้างแล้วยังเพิ่มความโปร่งเบาให้กับบ้านด้วย
หลังจากนั้นได้เกิดฝนตกอย่างหนัก นักศึกษาต้องหลบฝนตามบ้านของชาวบ้าน กว่าฝนจะหยุดตกนั้นก็เริ่มค่ำแล้ว ดังนั้นจึงได้เดินทางไปสู่สุโขทัยเพื่อพักผ่อนเพื่อเดินทางในวันต่อไป