วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บ้านอาจารย์ทรงชัย (สระบุรี) วันที่ 10/07/53

ก่อนที่จะได้ไปทริปจริง ๆ นั้น จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้การเก็บข้อมูลที่ดี และเปิดวิสัยทัศน์การมองและวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ จากสิ่งที่เห็น อาจารย์จิ๋วจึงได้พานักศึกษาไปสถานที่ที่หนึ่ง ซึ่งมีคุณค่าทางด้านความงามและการอนุรักษ์ นอกจากนั้นแล้วยังได้วิสัยทัศน์ใหม่ ๆ ในการออกแบบโดยที่เราสามารถนำสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ที่เป็นที่คุ้นเคย โดยการนำภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่มีอยู่มาผสมผสานกับความรู้ทางด้านโครงสร้างที่มีอยู่ โดยการออกทริปครั้งนี้สรุปความได้ดังนี้


    เริ่มแรกเมื่อมาถึงบ้านของอาจารย์ทรงชัยนั้น ก็สัมผัสได้ถึงความร่มรื่นด้วยรั้วประตูทางเข้าของบ้านซึ่งสอดแทรกด้วยพรรณไม้เลี้อย มีประตูทางเข้าอย่างชัดเจน โดยการที่จะถึงสู่บริเวณบ้านนั้นต้องเดินข้ามน้ำซึ่งเป็นคูน้ำรอบบ้าน นอกจากจะสร้างความร่มรื่นให้กับบริเวณสวนภายในแล้ว ยังช่วยให้เกิดความร่มเย็น จากลมที่พัดเข้าสู่ตัวบ้านก็จะพัดไอความเย็นจากน้ำ ผ่านพุ่มไม้ แล้วเข้าสู่ตัวบ้านอีกทีหนึ่ง
    เมื่อเดินเข้าไปสู่บริเวณบ้านแล้วก็จะเห็นการจัดแลนสเคปของบ้านพื้นถิ่นคือ มักจะพบลานดิน ซึ่งแต่ก่อนใช้เป็นที่ตากข้าวหรือแกลบในการทำเกษตรกรรม นอกจากนั้้นแล้วบริเวณลานดินก็จะช่วยให้ดูดซึมความร้อนก่อนพัดพาเข้าตัวบ้าน สเปสของลานดินนั้นสวยงาม มีความกลมกลืนกับบ้านพื้นถิ่น อีกทั้งยังเป็นส่วนช่วยป้องกันสัตว์มีพิษเข้าสู่ตัวบ้าน(สามารถมองเห็นสัตว์เหล่านี้ได้ง่ายเมื่ออยู่บ้าน) เป็นความชาญฉลาดของคนสมัยก่อนในการจัดพื้นที่ต่าง ๆ
    ตัวบ้านนั้นเป็นบ้านโบราณ แต่ไม่ใช่เป็นการออกแบบตามประเพณีนิยม เป็นการสร้างโดยช่างพื้นถิ่น ดังนั้นการวางผังบ้านจะเป็นไปตามฟังก์ชั่น และการขยายครอบครัวของคนโบราณซึ่งมักจะอยู่เป็นครอบครัวใหญ่
   บริเวณหลังบ้านน้้นจัดเป็นบ่อน้ำและมีศาลารอบน้ำ สร้างบรรยากาศความน่าอยู่ ร่มเย็น ด้วยไม้น้ำ และรอบบริเวณของบ่อน้ำนั้นก็เป็นพืชผักสวนครัว   การแยกตัวเรือนที่ติดกับบ่อน้ำนั้นเองกั้นด้วยคูน้ำขนาดเล็ก มีสะพานทอดไปยังหมู่เรือน ซึ่งมีความชาญฉลาดในเรื่องของการเล่นระดับ ซึ่งทางเดินนั้นจะปริ่มน้ำ สร้างความน่าสนใจและมีบรรยากาศที่ดี
ลานดิน
คูน้ำ
หมู่เรือนริมน้ำ


หลังจากที่เราได้ชมบ้านพื้นถิ่นแล้วนั้น ก็ได้เดินมาฝ้่งตรงข้ามของบ้าน ซึ่งเป็นศูนย์วัฒนธรรมไทยวนซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และมีสิ่งที่น่าสนใจในการออกแบบซึ่งหมู่เรือนนั้นได้ยกมาจากบ้านเรือนไทยพื้นถิ่นจากที่อื่น เป็นรูปแบบของภาคกลาง นำมาประกอบเข้าเป็นเรือนหมู่

ประเด็นที่น่าสนใจคือ ระเบียบการก่อสร้างของคนโบราณ โดยจากการเล่าความของอาจารย์ทรงชัย คือ บ้านแต่ละหลังนั้นสร้างกันต่างสถานที่่ ต่างช่าง แต่เมื่อนำมาสร้างใหม่โดยนำมาประกอบเข้าด้วยกันนั้นมีความลงตัว และโครงสร้างสามารถเชื่อมต่อกัน โดยอาจารย์จิ๋ววิเคราะห์ว่า เป็นระบบการก่อสร้างที่สืบทอดระบบการก่อสร้าง คนโบราณนั้นคิดระบบ modular ได้โดยไม่ตั้งใจ (หรืออาจจะตั้งใจ) เป็นสิ่งที่สามารถยกประกอบสร้างที่ไหนก็ได้  นอกจากนั้นแล้วการออกแบบบ้านริมน้ำนั้น สามารถทำได้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม โดยสิ่งที่น่าสนใจคือการประยุกต์เนินดินที่มีความชัน และหันหน้าออกไปทางแม่น้ำป่าสักนั้น สามารถนำมาเป็นเวทีการแสดง คลุมสเปสด้วยร่มไม้ขนาดใหญ่ มีที่นั่งชมการแสดงที่ติดกับแม่น้ำ พร้อมกับลานดินที่เป็นลานเอนกประสงค์ ซึ่งการที่สอดแทรกตัวบ้านนั้นไปกับสภาพแวดล้อมทำได้ดี


<>
บริเวณที่นั่งชมการแสดง
   
ลานดิน และเวทีการแสดงที่เล่นระดับ
อาคารและต้นไม้ที่เข้ากันได้อย่างดี

หลังจากนั้นแล้วก็ได้ไปตลาดโบราณที่มีอายุกว่า 100 ปี

รูปแบบของอาคารนั้นเป็นตึกแถว แต่มีประเด็นที่น่าสนใจคือการเจาะช่องระบายอากาศที่มีความสวยงาม และตอบสนองฟังชั่นการระบายอากาศที่เหมาะสมกับสภาพอากาศเขตร้อนชื้น

ลักษณะตึกแถวโบราณ และการเปิดช่องเปิด

สรุปสิ่งที่ได้จากวันนี้คือ ได้เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย นอกจากนั้นแล้วยังช่วยให้เราได้คิดถึงเรื่องการวางผังบ้าน และการสอดแทรกการนำแลนสเคปที่ดี ช่วยให้การออกแบบของเรานั้นกลมกลืนไปกับธรรมชาติ เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศบ้านเรายิ่งนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น