วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 2 25/07/2010

วันที่สองของการออกทริป

ตอนเช้าเดินทางไปที่วัดไหล่หิน  ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของลำปาง
ลักษณะของวัดนี้ที่เป็นจุดเด่นก็คือ การใช้รูปแบบการทำให้มุมมองของการเข้าถึงอาคารที่ทำได้ดีในการหลอกสายตาว่าเป็นวิหารขนาดใหญ่ แต่จริง ๆ แล้วเป็นวิหารที่เล็ก ๆ โดยการนำสายตาจากลานทรายที่กว้าง ๆ ทอดไปยังอาคาร โดยมีรูปปั้นสิงห์อยู่ขนาบข้างทางเดิน ทอดไปยังซุ้มประตูปูนปั้นที่ดูวิจิตรตระการตา ทำให้รู้สึกว่าระยะทางของการเข้าถึงนั้นอยู่ไกลออกไป อีกทั้งด้านหลังของวิหารนั้นปลูกต้นไม้ที่เป็นเส้นตั้ง ทำให้อาคารนั้นดูเหมือนว่ายิ่งใหญ่ ทำให้เกิดความน่าศรัทธา  

ภายในของวิหารนั้นเป็นลานทรายล้อมรอบพระธาตุและตัววิหาร นอกจากนั้นแล้วยังมีระเบียงคดที่มีสีขาวสะอาด ทำให้เกิดความมีคอนทราสระหว่างตัวอาคารทำให้เกิดจุดเด่นของวิหาร  ลักษณะโครงสร้างนั้นเป็นไม้เป็นโครงสร้างหลัก ประดับประดาด้วยการทาสีลวดลาย นอกจากนั้นการให้แสงสว่างของอาคารนั้นดูเป็นธรรมชาติยิ่งนัก

แต่ประเด็นที่น่าสนใจของการมาศึกษาวัดไหล่หินนั้นคือการอนุกรักษ์ ซึ่งปัจจุบันนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุมุงหลังคา ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมากระหว่างของเก่ากับของใหม่  การตัดต้นไม้ข้างวิหารนั้นทำให้บรรยากาศดูไม่ขลังเช่นเดิม ดังนั้นคุณค่าของอาคารจึงลดลงไป แต่การที่จะบูรณะก็ต้องชั่งน้ำหนักไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งระหว่างความอยู่คงทนถาวร หรือการรักษาคุณค่า ก็ควรจะคล้อยตามกัน ดังนั้นการบูรณะอาคารที่เก่าขนาดนี้จำเป็นต้องศึกษาถึงรูปแบบและคุณค่า การรักษาคุณค่าของอาคารนั้นเป็นสิ่งสำคัญและเป็นบทเรียนกับการอนุรักษ์สิ่งต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต

วัดไหล่หิน สังเกตุที่สเกลคนกับอาคาร
ด้านข้าง ระเบียงคด กับลานทราย


หลังจากที่ได้ไปวัดไหล่หินกันแล้ว ก็ได้ไปวัดพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของจังหวัดลำปาง เป็นสถาปัตยกรรมล้านนาโดยแท้ สิ่งที่ได้นำมาคิดวิเคราะห์กันนั้นนอกจากจะเป็นเรื่องของการดีไซน์แล้วยังกล่าวถึงในแง่ของการอนุรักษ์อีกด้วย


ลักษณะการออกแบบของวัดพระธาตุลำปางหลวงนั้นเป็นไปตามระเบียบประเพณีของล้านนาโดยแท้ มีวิหารขนาดใหญ่ และพระธาตุอยู่ด้านหลัง มีลานทรายเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสรรจรของผู้คน
การเข้าถึงอาคารจะไม่สามารถมองเห็นวิหารได้จากภายนอก แต่เป็นการนำสายตาจากประตูทางเข้าทีดูสง่า ล้อมรอบด้วยกำแพงก่ออิฐที่มีคุณค่าความแท้จากวัสดุ รอบกำแพงนั้นจัดเป็นสวนที่ใช้ต้นไม้ทางตั้งเพื่อเบรคความยาวของอาคาร 

ในเชิงอนุรักษ์นั้นตอนนี้วัดพระธาตุลำปางหลวงเริ่มได้มีการปูกระเบื้องในบริเวณลานภายใน ซึ่งทำให้คุณค่าของความแท้ลดลงไป นอกจากนั้้นแล้วสวนภายนอกนั้นยังได้มีการเปลี่ยนแปลง มีการสร้างอุโบสถที่มีความแตกต่างอย่างมาก ทำให้ไม่เกิดความคล้อยตามซึ่งกันและกัน โดยการที่จะทำให้คุณค่าเพิ่มขัึ้นกลับทำให้คุณค่าเดิม ๆ ที่มีอยู่ลดลงไป

พระธาตุลำปางหลวง

ลานทรายและระเบียงคดที่เป็นกำแพง ดูแล้วเหมือนอยู่บนสวรรค์

หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปดูที่วัดโปงยางคก ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่อีกวัดหนึ่ง วัดนี้ได้รับอิทธิพลมาจากฝ้่งพม่า
สิ่งที่น่าสนใจของวิหารนี้น่าจะเป็นการใช้แสงจากภายนอก และการลื่นไหลของสเปสที่เราไม่เห็นแต่จะสัมผัสจากการนั่งอยุ่ภายใน เพราะว่าการเปิดให้แสงของวิหารนี้จะเปิดจากด้านล่าง ดังนั้นสเปสจะเชื่อมต่อกันเองโดยสายตาเกิดการระบายอากาศและแสงที่ดี ภายในวิหารประดับประดาด้วยลวดลายที่งดงาม และประติมากรรมปูนปั้นโบราณ เข้ากับโครงสร้างที่ดุหนักแน่น ถือว่าเป็นการเล่นกับวัสดุได้อย่างดี  นอกจากนั้นในส่วนของหลังคายังคงเดิมไว้ของเดิม แต่จะแตกต่างตรงที่มีการนำพระพุทธรูปหล่อโลหะไปตั้งไว้ทำให้เกิดการแตกต่างไปเท่านั้นเอง 

การเปิดช่องเปิดด้านล่างของวิหาร
วัสดุมุงกระเบืองเข้ากับอาคารอย่างดี ทำให้เกิดคุณค่าอย่างมาก


หลังจากที่ได้ไปชมวัดทั้งสามวัดแล้ว ระหว่างทางนั้นเองก็ได้ไปที่บ้านโบราณหลังหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบผสมผสานวัสดุท้องถิ่น ฝีมือช่างท้องถิ่น แต่รูปแบบมีการนำรูปแบบทางตะวันตกมาใช้ แต่ว่าเข้ากันได้แบบลงตัว การวางฟังก์ชั่นของบ้านไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่สามารถทำให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทั้งที่ตั้งและบริบทรอบข้างได้อย่าดี

บ้านโบราณที่ผสมผสานหลังคาจากตะวันตก
ระหว่างการเดินทางนั้นเองได้แวะไปที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง เป็นหมู่บ้านที่มีความสวยงาม มีบ้านโบราณอยู่ทั่วไป
จากการสอบถามเจ้าของบ้านนั้นคือว่าเขาเองก็ไม่อยากรื้อถอนเพราะเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษให้มา อีกทั้้งเป็นของโบราณควรซึ่งมีคุณค่าที่ให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไป

บ้านโบราณ  ลำปาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น