วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 7 30/07/2010

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย วัดพระศรีมหาธาตุราชวรวิหาร สุโขทัย


ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือการวางกำแพง ที่มีลัษณะเป็น modular โดยเป็นกำแพงเตี้ย ๆ กั้นสเปสจากภายนอก แต่สามารถมองเห็นได้ชัด  ซุ้มประตูเป็นศิลาแลงวางเป็นท่อนเตี้ย ๆ แต่ไม่เหมือนกับวัดมหาธาตุคือประตูจะอยู่ตรงกลางและสามารถมองทะลุไปถึงพระปรางค์ได้ชัดเจน นอกจากนั้นแล้ววัดนี้ได้แสดงถึงความสมมาตรและการนำศิลปะขอมมาร่วมใช้ แสดงถึงช่วงเวลาของเมืองศรีสัชนาลัยซึ่งเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับสุโขทัย
 
 
วัดกุฎีราย สุโขทัย


การออกแบบของวัดนี้เป็นต้นฉบับของหลังคาสุโขทัย การเรียงอิฐให้เหมือนกับฝาปะกนไม้ ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าเดิมทีการสร้างอาคารนั้นมาจากโครงสร้างไม้ส่วนใหญ่ การทำอาคารนั้นน่าจะทำให้ดูโปร่งเบาซึ่งวัดนี้ถือว่าเป็นว้ัดป่าอยู่รอบนอกกำแพงเมือง
 
 

ความโปร่งเบาจากการเจาะช่องเปิดตามตั้ง
จากนั้นได้แวะชมหมู่บ้านรอบ ๆ วัดนี้


พิพิธภัณฑ์เตาสังคโลก
   เป็นการออกแบบที่ผสมผสานการใช้ศิลาแลงโดยการหยิบยก pattern ของการเรียงอิฐมาใช้ อาคารนั้นดุโปร่งสบายเหมือนบ้านพักอาศัย นอกจากนั้นยังใช้กำแพงที่ไม่สูง ทำให้เกิดความเข้ากันได้กับหมู่บ้านได้ดี


วัดเจดีย์เก้ายอด สุโขทัย


    เป็นวัดที่อยู่บนเนินเขา ซึ่งการใช้ศิลาแลงในการทำเป็นขั้นบันได มีการสกัดหินเป็นทางลาดซึ่งหาไม่ได้จากที่อื่น  นอกจากนั้นการเข้าสู่ตัวอาคารนั้นทำได้อลังการ เพราะว่าการที่จะเข้าถึงอาคารนั้นต้องเดินขึ้นไปตามขั้นบันไดทางด้านข้าง ดังนั้นลักษณะของอาคารเสมือนลอยตัวอยู่บนฐานเมื่อมองจากด้านหน้า
 
 
วัดนางพญา สุโขทัย


      สิ่งที่ได้เห็นคือในแง่มุมของการอนุรักษ์สิ่งที่มีเหลืออยุ่ชิ้นเดียว เพื่อรักษาให้ประติมากรรมนูนต่ำลวดลายปูนปั้นที่หลงเหลืออย่างสมบูรณ์ ที่เป็นของดั้งเดิมนั้นจำเป็นจะต้องสร้างหลังคาเพื่อคลุมกันแดดกันฝน ลวดลายปูนปั้นเป็นลายไทยที่มีลักษณะผูกติดกันไปเรื่อย ๆ มีความสัมพันธ์กันไปเป็นทอด ๆ
 
 
 
วัดช้างล้อม สุโขทัย


     ประเด็นที่มองถึงวัดนี้คือประติมากรรมช้างนั่นเอง ซึ่งการที่ช้างนั้นไม่เหมือนช้างจริง ๆ เสมือนว่ามีการตัดทอนลายละเอียดลง ทำให้ดูไม่เด่นจนเกินไปกว่าพระธาตุนั่นเอง
 



หลังจากนั้นได้เดินขึ้นไปข้างบน มีกลิ่นขี้นกไม่ขาดสาย แล้วเริ่มเหนื่อยล้าจากการเดินเป็นอย่างมาก
อีกทั้งยังถูกแมลงป่ากัดเป็นแผล คุ้มจริง ๆ สำหรับการมาที่นี่ได้อะไรเยอะแยะ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น