วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 5 28/07/2010

วันนี้อยู่ที่สุโขทัย โดยหลักแล้ววันนี้จะศึกษาโบราณสถานเมืองสุโขทัยเป็นหลัก

เริ่มด้วยสรีดภงค์ เป็นอ่างเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับการเกษตรกรรมสมัยก่อน ในปัจจุบันได้มีการสร้างเขื่อนซ้อนทำให้ชาวบ้านละแวกนั้นได้ใช้อ่างเก็บน้ำอย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
สรีดภงค์
หลังจากนั้นแล้วก็ได้ไปที่วัดมังกร ซึ่งเป็นวัดป่า อยู่ภายนอกกำแพงเมืองสุโขทัย
ลักษณะการวางผังวัดนั้นหมือนวัดปงยางคก วัสดุหลักนั้นใช้ศิลาแลง ซึ่งเป็นวัสดุหลักที่หาได้ง่ายในพื้นที่
และสามารถก่อสร้างทำเป็นบล๊อคนำมาเรียงต่อกันได้ง่าย เนื่องจากการสร้างวัดนั้นตรงกับสมัยที่อาณาจักรศรีวิชัย การเจริญทางด้านพระพุทธศาสนานั้นเป็นอย่างมาก สังเกตุได้จากใบเสมาหน้าวัดจะเป็นใบเสมาคู่ สันนิฐฐานว่าน่าจะเป็นการรวมกันของสองนิกายนอกจากนั้นแล้วจะมีบ่อน้ำโบราณที่พบเห็นได้บริเวณนั้นด้วย

วัดมังกร

วัดมหาธาตุ
ทางเข้าของวัดนั้นไม่ได้อยู่ด้านหน้าตรงกลางของวัด แต่จะเข้าทางด้านหน้าที่เยื้องไปทางด้านข้าง เมื่อเข้าถึงอาคารแล้วจะเห็นเจดีย์บริวารทั้ง 8 เป็นการทำให้เกิดมุมมองที่ต้องเดินต่อไปโดยไม่หลง เหมือนกันเป็นการชี้ทางเป็นนัยด้วยการกั้นสเปส ก็จะเห็นวิหารหลวงทางด้านขวามือ และสามารถเดินเข้าไปในเนินปราสาทได้

เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดหลวง เป็นที่พำนักของกษัตริย์ จึงมีการกั้นสเปสที่เป็นส่วนตัว แต่ว่าไม่ได้กั้นด้วยกำแพงแต่กั้นด้วยสายตาและสเปสที่ตัดกันไปมา นอกจากนั้นแล้วยังมีการกั้นกำแพงเตี้ย ภายนอกด้วยเช่นกัน
วัดมหาธาตุ
หลังจากนั้นได้แวะกินข้าวที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สิ่งที่ได้เห็นก็คือว่าการออกแบบที่สอดคล้องกับคอนเซปที่สะท้อนรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยทำได้อย่างดี โดยการนำการใช้อิฐและสิลาแลง นำมาประยุกต์เข้ากับเรือนหมู่และการจัดสเปสการเข้าถึงอาคารที่เหมาะสมเข้ากับสุโขทัยได้ดี

วัดพระพายหลวง สุโขทัย

     เป็นการก่อสร้างโดยได้มีอิทธิพลมาจากขอม โดยพระปรางค์แบบขอมเป็นส่วนเดิมและมีของสุโขทัยมารวมกัน การวางผังคล้ายกับวัดข่วงกอม โดยโบสถ์มีการทำพิธีกรรม และเหมือนศาลาการเปรียญ นอกจากนั้นแล้วยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์และพุทธที่ผสมผสานกันในความเชื่อของคนในสมัยสุโขทัยหลังจากที่อาณาจักรขอมได้เสื่อมอำนาจลง
วัดพระพายหลวง

วัดศรีชุม สุโขทัย




     เริ่มด้วยการเข้าถึงอาคารจะพบวิหารเล็ก ๆ และสิ่งที่เห็นได้ชัดคือพระพุทธรูปด้านหน้าองค์ใหญ่เรียกว่า พระอาจนะ บนเพดานจารึกพระเจ้า 500 ชาติเอาไว้ สิ่งที่น่าสนใจคือทางด้านโครงสร้าง ด้านในประกอบด้วยผนังสองชั้น ด้านในสามารถให้คนเดินเข้าไปและไปโผล่ตรงด้านหลังพระ ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรได้ใช้ให้ทหารในการเรียกขวัญกำลังใจ เนื่องจากสามารถได้ยินเสียงก้องกังวาลมาจากข้างหลังพระ สเปสที่ดุยิ่งใหญ่ทำให้เกิดความซึมซับในความสงบของพระพุทธ ทำให้เกิดความศรัทธาไม่แพ้โบสถ์ของโกทิกด้วยซ้ำ  

วัดศรีชุม
วัดศรีสวาย สุโขทัย


      วัดนี้อาจารย์จิ๋วได้ให้แง่คิดในการออกแบบเรื่องการใช้ pattern ของผนังศิลาแลง กับผนังปูนเปลือย คุณค่าที่เกิดขึ้นจากการเวลาทำให้วัสดุเหล่านั้นได้แสดงความแท้ออกมา การเปิดช่องทางตั้งรับกับภายนอกที่มีการสร้างบ่อน้ำ เป็นสวนรอบ มีการนำน้ำจากใต้ดินมาใช้ นอกจากนั้นแล้วยังประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นที่เห็นได้บนพระปรางค์ โดยแนวคิดการออกแบบนี้สามารถนำมาใช้ได้กับรีสอร์ทได้อย่างดี เป็นการเล่นกับวัสดุที่แท้จริง

วัดศรีสวาย


หมู่บ้านสังคโลก สุโขทัย


    เมื่อเดินทางกลับนั้นก็ได้แวะไปเยี่ยมชมบ้านพื้นถิ่นอีกตามเคยจนกว่าแสงไม่พอที่จะถ่ายรูป  บ้านหลังที่ผมสนใจนั้นก็คือบ้านที่อยู่ในรูป เป็นการเล่นแมสที่ตันเจาะช่องเปิดใต้ถุนกว้าง ๆ เพื่อรับแสง ในขณะที่แมสตัน ๆ นั้นได้ถูกเจาะไปทำให้เกิดสเปสที่น่าสนใจในความเชื่อมต่อระว่างฝากหนึ่งไปอีกฝากหนึ่ง นอกจากนั้นแล้วการเล่นสังกะสีในการเป็นวัสดุมุงผนังนั้นทำให้แมสที่ตันมีความเด่นออกมาอีกด้วย



หลังจากนั้นแล้วแสงก็ลับขอบฟ้า เราก็ได้เดินทางกลับที่พักกันอย่างสมใจ  5555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น